วันจันทร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2558

ขันครูล้านนา




ขันครูล้านนาเป็นภาชนะที่ใช้สำหรับการบรรจุของเพื่อใช้ในแง่ของความเชื่อความศักดิ์สิทธิ์ หรือใช้ในพิธีกรรมต่างๆ ที่มีชื่อขันมากมายเรียกตามวิธีการใช้งานและวัตถุประสงค์ที่ใช้ทำขัน


การทำขัน นอกจากทำด้วยทองคำ เงินและทองแดงแล้วก็ยังมีด้วย ไม้จิง และสานด้วยไม้ไผ่ ทั้งนี้ ขัน ไม้ จิงนั้นจะทำให้ขึ้นรูปได้เรียบร้อยด้วยการเฆี่ยนหรือการกลึง ซึ่งการกลึงจากไม้จิงก็ไม่มีขึ้นตอนทำอะไรมาก แต่การสานมีขั้นตอนมากกว่า การสานส่วนมากจะสานด้วย ไม้ไผ่เรี้ย (อ่าน ” ไม้เฮี้ย ” ) เพราะเนื้อเหนียวกว่าไม้ไผ่ชนิดอื่น จะจักตอกให้บางกย่างไรก็ได้ ใบขันใช้วิธีสาน ส่วนตีนขันจะมีแบบครึ่งสานและแบบคาด ช่างบ้างคนจะใช้วิธีสาน โดยจะสานเป็นตัวในก่อนแล้วจึงคาดด้วยตอกทำลวดลายอีกครั้งหนึ่ง ถ้าเป็นขันดอกที่ใช้ตามวัดจะมีขนาดใหญ่และสวยงาม ส่วนขันที่สานด้วยตอกไม้ไผ่เรี้ยจะมี 2 ขนาด คือ ตอกตัวยืนมีขนาดใหญ่ ตอกตัวสานมีขนาดเล็ก เมื่อได้ใบขันแล้วก็จะคาดเคียน แอวขัน คือแอวของพานและตีนขัน คือใช้ตอกขนาด ๐.๕-๑.๐ เซนติเมตร พันทับกันเป็นวงกลมเหลื่อมให้ขึ้นรูปแล้วทาด้วยยางไม้ หรือน้ำรัก เมื่อทั้งตัวขันและแอวขันเสร็จแล้วจึงนำส่วนตีนมาติดเข้ากับใบขันโดยใช้น้ำรัก เมื่อรักแห้งดแล้วทาด้วยน้ำรัก เมื่อรักแห้งดีแล้วทาด้วยน้ำรักผสมหาง (ชาด) ให้เรียบ แล้วจึงตกแต่งลายประดับด้วยชาดอีกทีหนึ่งให้เป็นลวดลายต่างๆ ตามที่ต้องการ

ขันหรือพาน เป็นภาชนะที่ใช้บรรจุเครื่องคำนับต่างๆนี้จะมีขนาดใหญ่หรือเล็กแล้วแต่ปริมาณของเครื่องคำนับที่บรรจุนั้น ขัน อาจเป็น ขันแดง หรือพานที่ทำด้วยไม้ไผ่ทาชาดซึ้งมีขาดต่างๆ อาจเป็น ขันสี้ หรือ ขันตีนถี่ คือ พานที่ส่วนลำตัวเป็นซี่ไม้กลึงเรียงรอบเพื่อรับน้ำหนักทั้งหมด และหากไม่มีขันแบบกว่า ก็อาจใช้พานแบบใหม่ที่ทำด้วยทองเหลืองหรืออลูมิเนียม แม้กระทั่งกะละมังก็อาจนำมาใช้ได้เช่นกันคำว่า ขัน ของ ล้านนายังรวมเรียกลวดลายทางสถาปัตยกรรมหรือการทอผ้าในส่วนที่มีรูปคล้ายกับ พานว่าขันได้อีกด้วย เช่น ส่วนของเจดีย์ที่ฐานผายเอวคอด และมีส่วนบานขึ้นมาต่อรับนั้น ก็เรียกส่วนนั้นว่าขัน และรวดลายในผ้าซิ่นตีนจก ซึ่งทอให้มีลักษณะละม้ายพานก็เรียกส่วนนั้นว่าขันอีกด้วยเช่นกัน

ขัน อันหมายถึงชุดเครื่องคารวะสำหรับพิธีต่างๆนั้นพบว่ามีระดับต่างๆ ตามจำนวนชุดของเครื่องคารวะ คือ ขันเครื่อง ๔ , ๘ , ๑๒ , ๑๖ , ๒๔ , ๓๖ และ ขันเครื่อง ๑๐๘ ซึ่งเมื่อศึกษาจากรายละเอียดแล้วเห็นว่า คำว่า ขัน ในกรณีดังกล่าว มีความหมายเหมือนกับสะทวง (อ่านว่า “ สะตวง ” ) หรือกระบะบัตรพลีที่ใช้ในพิธีกรรมต่างๆ ทั่วไปนั้นเอง ขันครู เป็น ภาชนะใส่ดอกไม้ธูปเทียนเครื่องเคารพ ครูบาอาจารย์ที่เคยได้สอนวิชาความรู้ให้ หรือเป็นขันขึ้นครูในเวลาที่ไปสมัครเป็นลูกศิษย์หมอคาถาอาคม เช่น ขึ้นครูในการสักหรือขึ้นครูในการถ่ายทอดรับคาถาอาคมต่างๆ เป็นต้น ขันในประเภทนี้มีรูปทรงกลม ปากผาย มีเอวคอดเป็นขยัก ส่วนตีน ผายออก ใบขันสานด้วยไม้ไผ่ ส่านขาและตีนพันม้วนด้วยตอกทารักลงหางเป็นสีน้ำตาลหรือสีแดง


สิ่งที่ใส่ในขันครู ประกอบด้วยดอกไม้ธูปเทียนอย่างละ ๖ มีข้าวตอกพองาม นอกจากนั้นจะมีเงินบูชาครูตามกำหนด เช่น ๖ บาท ๑๒ บาท ๑๐๘ บาท ๑ , ๓๐๐ บาท โดยมากขันครูนี้จะจัดให้พ่อหมอหรือปู่อาจารย์ก่อนทำพิธีสมัย ปัจจุบันนิยมใส่ขันครูที่ว่างไว้ และเพิ่มอีกส่วนหนึ่งเป็นการสัมมนาคุณอีก กรณีหนึ่ง บางตำราใช้ขันธ์ครู เป็นขันธ์ 5 มีเครื่องมงคล 5 อย่าง คือ ดอกไม้ขาว ธูปขาว เทียนขาว ผ้าขาว กรวยใบตอง
หนึ่งขันประกอบด้วยผ้าขาว และกรวยดอกไม้ 5 กรวย เทียนใส่กรวยละ 1 คู่ ธูปใส่กรวยละ 3 ดอก โดยขันธ์ 5 นี้จะเป็นตัวแทนขันธ์ทั้ง 5 คือ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์
ขันครู เป็นเสมือนตัวแทนครู จะเป็นสายไหนก็ต้องมีขันครู สายฤาษี สายล้านนา สายเขมร สายใต้ สายผี สายภูต สายพราย สายเทพ มักมีพานครูตั้งบูชาไว้ อัญเชิญครูบาอาจารย์มาสถิตอยู่ เพื่อจะใช้เพิ่มพลังวิชาอาคมและรักษาวิชาอาคม ทั้งยังปกป้องรักษาตัวผู้เป็นศิษย์อีกด้วย ถ้าไม่มีขันครูจะทำให้การประกอบพิธีต่างๆไม่สำเร็จ จะเกิดอาถรรพ์และขึด หากใช้อาคมเกินตัวอาจจะทำให้ของเข้าตัวถึงตายได้ แต่ถ้ามีขันครูแล้วรักษาไม่ดีของก็เข้าตัวได้เช่นกัน
ขันครูต้องตั้งไว้ที่สูงสุดของบ้านที่พักอาศัย ห้าวไว้ในที่ต่ำ หากจะโยกย้ายขันครูต้องห่อผ้าขาวก่อนทกครั้งและถ้าไม่จำเป็นจริงๆ อย่าย้ายขันครูเด็ดขาด ขันครูชั่วคราว คือขันชนิดเดียวกันกับขันตั้ง ขันครูในพิธีต่างๆ เช่นพิธีมงคล พิธีลงเสาเอก ขึ้นบ้านใหม่ ขึ้นครูอาจารย์วัด(มัคคธายก) พิธีแต่งงาน สู่ขวัญต่างๆ ทำขวัญนาค ส่วนงานอวมงคล เช่นพิธีศพสงสการ เป็นต้น ขันครูชั่วคราวนี้จะมีการลาขันเมื่อเสร็จงานเรียกว่า "ปลดขันตั้ง" จนชาวบ้านเอามาเรียกกันติดปากในวงเหล้า ขันครูถาวร เป็นขันแบบเดียวกับขันตั้ง แต่ไม่มีการลาขัน เป็นขันครูที่วางบูชาไว้ตลอดทั้งปี

ขันครูสำหรับผู้ต้องการจะเล่าเรียนวิชาคาถาอาคม โดยผู้ที่จะเรียนให้ทำพานครู ๑ พาน แล้วทำพิธีเลี้ยงครู ยกขันครู แล้วนำไปบูชา ตั้งเครื่องพลีกรรม น้ำดื่มและดอกไม้ ตามแต่ละสำนัก บางครั้งอาจใช้กำยาน ขันครูนี้จะเปลี่ยนได้เพียงปีละครั้ง ตามกำหนดของแต่ละสถานที่ เช่น วันพญาวัน ในช่วงสงกรานต์ เป็นต้น

๑. ขันน้อย แบ่งเป็น ขัน ๕ , ขัน ๘ , ขัน ๑๒ , ขัน ๑๖ , ขัน ๒๔ , ขัน ๒๘ , ขัน ๓๒
- ขัน ๕ นี้หมายถึง ขันศีล ๕ เป็นขันเบญศีลหรือศีล ๕
- ขัน ๘ นี้หมายถึง ขันศีล ๘ เป็นขันอุโบสถศีลหรือศีล ๘
- ขัน ๑๒ นี้หมายถึง ขันพ่อครู เป็นขันของผู้เป็นครูอาจารย์ลำดับชั้นต้น
- ขัน ๑๖ นี้หมายถึง ขันครูบูชาพระเจ้า ๑๖ พระองค์
- ขัน ๒๔ นี้หมายถึง ขันพ่อครูลำดับที่สอง เป็นขันของผู้เป็นครูอาจารย์ลำดับชั้นสูง
- ขัน ๒๘ นี้หมายถึง ขันครูบูชาพระเจ้า ๑๘ พระองค์
- ขัน ๓๒ นี้หมายถึง ขันพ่อครูลำดับที่สอง เป็นขันของผู้เป็นครูอาจารย์ลำดับชั้นสูง สูงกว่าขัน ๑๒
ขัน ๓๒ นี้ เป็นขันครูใหญ่ไหว้เทวดาทั้งสามโลก และอีกนัยหนึ่งคือ ขันอาการ ๓๒ หมายถึง รูปขันธ์ทั้ง ๓๒ ประการ

๒.ขันหลวง แบ่งเป็น ขัน ๑๐๘ , ขัน ๑๐๙ , ขัน ๒๒๗ , ขัน ๑๐๐๐ - ขัน ๑๐๘ , ๑๐๙ นี้หมายถึง ขันครูเครื่องใหญ่ เป็นอาจารย์ผู้มีวิชาอาคมแกร่งกล้า ระดับบรมครู ระดับผู้อาวุโส ขั้นพระสงฆ์ที่มีวิชาแก่กล้า ขั้นเจ้าเมืองหรือพระมหากษัตริย์ - ขัน ๒๒๗ นี้หมายถึง ขันศีล ๒๒๗

ส่วนประกอบโดยทั่วไปที่ขาดไม่ได้คือ
- หมากแห้ง หมากหมื่น ผ้าขาว แทนครูที่ล่วงลับไปแล้ว
- ผ้าแดง แทนครูที่มีชีวิตอยู่
- กรวยดอกไม้ ทำตามจำนวนขันและดอกไม้ ตามแต่สำนักกำหนด
- กรวยพลู (สวยพลู) หมากแห้งใบพลูทำตามจำนวนขัน
- เครื่องดื่ม สายผีสาย ภูต พรายมักใช้เหล้า(สุราขาว สุราแดง) 1 ขวด
- น้ำผึ่ง 1 ขวด สำหรับสายเหล็กไหลจะขาดมิได้ - ข้าวเปลือก ข้าวสาร
- เบี้ยจั่น เบี้ยนาง ใส่ตามจำนวนขัน
- ของทนสิทธิ์ ของศักดิ์สิทธิ์หายาก เป้ง รูปปั้น ลูกแก้ว ประคำ อะไรก็ได้ถ้าไม่มีก็ไม่เป็นไร ถ้าฝ่ายพฤติบาตจะมีขอช้าง เชือกคล้องช้าง
- เทียนสีต่างๆตามกำหนดไว้ หรือเทียนขี้ผึ่ง ใส่เป็นคู่หรือตามจำนวนขัน
- ข้าวตอก
- ช่อ คือ ฉัตรหรือธง
- พาน หรือ ขันโตก ไว้สำหรับใส่เครื่องมงคลทั้งหมดที่กล่าวมา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น