การทรงเจ้า
การทรงเจ้าจึงเป็นสิ่งสะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตของชาวบ้านในชนบทเป็นการดำเนินชีวิตที่เรียบง่าย เคารพในสิ่งที่บรรพบุรุษได้ยึดถือปฏิบัติสืบต่อกันมา เป็นศรัทธาที่ไร้ตัวตน ซึ่งต่อให้กระแสของโลกจะเปลี่ยนแปลงไปเช่นไรแต่ในจิตใจของชาวบ้านแห่งนี้ก็ ไม่เปลี่ยนไปจากเดิมแน่นอนหากจะถามว่าการทรงเจ้าเริ่มมีมาตั้งแต่เมื่อใด คงยากจะหาหลักฐานมีอ้างอิงได้แต่จากการสังเกตและพบเห็น มีการทรงเจ้าอยู่เกือบทุกพื้นที่ทั่วประเทศ โดยเฉพาะในพื้นที่แถบจังหวัดต่าง ๆ ของภาคเหนือมีการทรงเจ้ากันอยู่มากมาย การทรงเจ้าของคนภาคเหนือ
ในอดีตเป็นการทรงเฉพาะในช่วงเวลาที่ชาวบ้านเดือดร้อนหรือเจ็บไข้ได้ป่วยก็จะ มีพึ่งพาเจ้าทรงให้ช่วยรักษา รวมถึงการตรวจสอบดวงชะตาของหมู่บ้าน ซึ่งการทรงเจ้าของคนภาคเหนือนั้นมีการทรงอยู่หลายเจ้า เช่น การทรงเจ้าของผีหม้อนึ่ง การทรงผีผ่าผีเขา การทรงผีปู่ย่า การทรงผีเจ้าพระยา โดยมีความเชื่อพื้นฐานก็คือ ต้องการให้บรรดาเจ้าทรงต่าง ๆ ช่วยเหลือในยามเจ็บไข้ได้ป่วยหรือเกิดเหตุเภตภัยใดๆ
ในหมู่บ้าน
การหาเหตุผลมารองรับถึงความเชื่อดังกล่าวจึงเป็นเรื่องยาก หลายคนอาจมองว่าการทรงเจ้าเป็นเรื่องโกหก งมงาย แต่ขณะที่อีกหลายคนถือเอาการทรงเจ้าเป็นที่พึ่งทางใจแห่งสุดท้ายของพวกเขา
การเป็นม้าขี่ที่นั่งนั้น เป็นได้อยู่สามทางด้วยกันคือ
1. การสืบเป็น กล่าวคือ สืบกันตามสายเลือดกันลงมา เช่น ทวดเป็น แล้วสืบมาที่ ยาย และอาจสืบไปที่หลาน เรื่อยไป หรืออาจบอกได้ว่า ตระกูลนี้ได้ถูกมอบหมายให้เป็นร่างทรงของเทพ
2. การถูกเลือกให้เป็น หรือ ถูกบังคับ การนี้เทพ ท่านเป็นผู้เลือกม้าเองก็จะทำให้ม้าป่วยบ้าง มีอาการบางอย่างบ้าง จนต้องรับเป็นม้าให้ท่าน แต่ไม่รับอาจถึงตาย
3. การรับเป็น การนี้ ก็สุดแล้วแต่เทพ เช่น ยายเป็นม้าขี่ แล้วเสียชีวิตลง แต่ลูกหลาน อยากจะรับดูแล รับเลี้ยงบูชาต่อ ลูกหลานก็จะแต่งดาขันข้าวตอกดอกไม้ ยกขึ้นเหนือหัว กล่าวรับท่านอาจจะทำหลายคนก็ได้ ก็สุดแต่เทพท่านจะเลือกใครเป็นม้าต่อ
แต่อย่างไรก็ตาม การที่ใครจะเป็นม้าขี่ของเทพองค์ใดได้ ต้องมีชะตาต้องหรือสมพงษ์กัน อาจจะมีอดีตชาติร่วมกัน อีกอย่างคนเป็นม้าขี่ ต้องมีผมหอมประจำตัวซึ่งม้าขี่แต่ละคน จะมีกลิ่นหอมไม่เหมือนกัน เทพท่านจะจำกลิ่นหอมนั้นได้ ไม่ว่าม้าขี่จะอยู่ไหนท่านก็จะตามหาม้า และเข้าประทับร่างได้ หวังว่าคงจะเป็นความรู้ได้ไม่มากก็น้อยสำหรับผู้ที่สนใจในเรื่องนี้นะคะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น